top of page

กว่าจะเป็นครัวปากพยิง

ปฐมพงศ์ หรือ โดม ผู้รักบ้านเกิด เดิมทีคุณโดมเรียนอยู่ที่ปีนังและกลับมาเรียนต่อที่ไทยใน อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลาและเมื่อคุณโดมเรียนจบ ตนจึงตัดสินใจกลับมาบ้านเกิดเพื่อมาดูแลคุณตา โดยส่วนตัวคุณโดมเป็นคนชอบการท่องเที่ยว ตนจึงมีความคิดริเริ่มเปิดทัวร์หาลูกค้ามาท่องเที่ยวที่ บ้านแหลมโฮมสเตย์ เดิมที ที่ร้านตั้งอยู่ เป็นบ้านของคุณน้า และญาติๆ แต่นานไปต่างคนต่างแยกย้ายกันไปทำงานที่ต่างจังหวัดกันหมด ตนเองเรียนจบเลยกลับมาดูแลคุณตา และมีความคิดที่จะทำโฮมสเตย์เพราะตนมองเห็นถึงโอกาสที่ผู้คนจากต่างจังหวัดจะได้มาท่องเที่ยวที่บ้านเกิดของตน และชาวบ้านในท้องถิ่นจะได้มีรายได้ ซึ่งก็คือคน ปากพยิง นครศรีธรรมราช แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 เลยทำให้สิ่งที่ตนได้เตรียมการวางแผนไว้เปลี่ยนไป จึงได้เริ่มปรึกษากับคุณน้า ว่าลองมาเปิดร้านอาหารกันแทน ทุกคนก็ตกลงและคุยงานกัน และคุณน้าของคุณโดมก็เชี่ยวชาญในการทำอาหารและมีประสบการณ์ด้านร้านอาหารมานานนับสิบปีจึงตัดสินใจอยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเองและนี่เป็นจุดเริ่มต้นของ " ครัวปากพยิง นครศรีธรรมราช " ซึ่งเปิดมาได้ไม่ถึงปี แต่ด้วยความอร่อย ความสดใหม่ของวัตถุดิบ ความใส่ใจของพนักงานและครอบครัวของตน รวมถึงบรรยากาศที่สวยงาม และมีโลเคชั่นไม่เหมือนใคร เลยเป็นที่รู้จักของผู้คนในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก และได้คิดออกแบบสไตล์ร้านให้เหมือนบ้าน ให้ลูกค้าที่มาทานข้าวที่ร้านได้รู้สึกเหมือนเราได้กลับมาอยู่บ้านที่ทิ้งไปนานกว่า 10ปี มีบรรยากาศที่อบอุ่น และภาชนะต่างๆที่ให้ความรู้สึกเหมือนทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากันที่บ้านตนเอง

เมื่อสถานการณ์โควิดเข้ามา

คุณโดมกล่าวว่า เมื่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้น แน่นอนว่ายอดขายลดลงไป 80-90 % ต่อวันเลยทีเดียว ตั้งแต่มีโควิด-19 เข้ามา จึงมีเหตุจำเป็นต้องปิดร้านไปมากกว่า 14 วัน และตนก็เลี่ยงไม่ได้ก็ต้องปิด เพื่อให้ความร่วมมือตามมาตรการของรัฐ ซึ่งถามว่าตนและครอบครัวอยากจะปิดไหม ตอบเลยว่าไม่เคยคิดจะปิดร้านเลย คุณโดมได้กล่าวต่อว่า หากเราเปิดร้าน พนักงานก็ยังได้มีงานทำแต่ก็มีมาตรการลดเงินเดือนของพนักงานลง แต่ไม่มีความคิดที่จะไล่พนักงานออกเลย . . . . และที่เปิดทุกวันนี้เพื่อให้มีรายได้จุนเจือช่วยเหลือพนักงาน ส่วนมาตรการ การป้องการโควิด-19 ทั้งลูกค้าและพนักงานนั้นหายห่วง พนักงานของร้านทุกคนจะต้องใส่แมส 100% และล้างมือให้ถี่ขึ้น ส่วนลูกค้านั้นทางร้านมีบริการวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าร้าน และการให้บริการห้องน้ำของทางร้าน ทางร้านจะฉีดพ่นแอลกอฮอล์ทุก 1-2 ชั่วโมง เมื่อเวลาลูกค้าทานเสร็จทางร้านจะเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ฟังแล้วทางร้านใส่ใจทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ อาหาร ลูกค้า พนักงานและการบริการ หรือแม้แต่ความสะอาด  

           ถึงแม้ยอดขายจะหายไป 80-90 %
       แต่คุณโดมและคนในครอบครัวก็เลือกที่จะ
  ไม่ปิดร้าน ไม่ไล่พนักงานออกแม้แต่คนเดียว !!!!

วิวที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน

วิวที่ไม่เหมือนใคร..และไม่มีใครเหมือน. . การตกแต่งร้านใช้ของในท้องถิ่นแทบหมดทั้งร้าน อิฐ ก็เป็นอิฐ ของ บางปู นครศรีธรรมราช  ของจักรสารอย่างโคมไฟมาจากของในท้องถิ่นทั้งหมด คุณโดมและครอบครัวก็ยังคงสนับสนุนท้องถิ่นและบ้านเกิดของตนเอง เพื่อที่จะให้คนจากต่างจังหวัดมาแล้วได้รู้สึกว่า ครัวปากพยิง รวมของในท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราชมาอยู่ในร้านแห่งนี้ และรู้สึกอบอุ่นเหมือนบ้าน คุณโดมได้กล่าวว่า การบริการของร้านต่อลูกค้านั้น แน่นอนว่า "บริการทุกระดับประทับใจ" กันเลยทีเดียว 

นั่งในร้าน เห็นวิวการสัญจร 3 สาย ! ! 

หากท่านนั่งในร้านหรือริมระเบียง ท่านจะได้เห็นบรรยากาศการสัญจร 3 สายด้วยกัน การสัญจรที่ใกล้ที่สุดก็คือการสัญจรทางน้ำหรือการสัญจรทางเรือของชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ ต่อมาคือการสัญจรทางบกหรือสัญจรด้วยยานพาหนะบนสะพานคลองปากพยิงนั่นเอง ส่วนการสัญจรสุดท้ายก็คือการสัญจรทางอากาศ เป็นมุมที่ท่านจะได้ถ่ายรูปกับเครื่องบินที่บินอยู่เหนือศรีษะ เพราะตัวร้านอยู่ไม่ไกลจากสนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราชนั่นเอง ถือว่าเป็นมุมที่อันซีนมากๆ

วิวห้องน้ำที่ไม่เหมือนใคร . . . 

สไตล์ห้องน้ำของทางร้านมีจุดเด่นและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร คือวอลเปเปอร์ขยับได้ มุมอ่างล้างมือจะทำเป็นช่องที่สามารถมองเห็นบรรยากาศริมน้ำ วิถีชีวิตของชาวประมง ลีลาการหาปลาสุดเจ๋ง และวิวสะพานปากพยิงที่หาดูไม่ได้จากที่อื่นแน่นอน มีที่นี่ที่เดียวห้องน้ำครัวปากพยิง

เวลาเปิด - ปิด และสถานที่ตั้ง

ปกติทางร้านจะเปิด 10.30 - 21.30 น. แต่เมื่อสถานการณ์โควิดเข้ามาจึงเลื่อนเป็น  10.00-21.00 น.  จุดเด่นที่สามารถเห็นได้ง่าย หากท่านมาจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชแล้วข้ามสะพานปากพยิงให้มองมาทางขวา หากมาจากตัวเมืองท่าศาลาให้มองมาทางซ้าย ท่านก็จะมองเห็นร้านอยู่ริมน้ำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของปากพยิงเลยก็ว่าได้ . . . 

  • YouTube
  • Facebook
bottom of page